Life is short then do what brings happiness to life.ชีวิตเราสั้น อะไรทำแล้วมีความสุขก็ทำไป อยู่ยังไงก็ได้ให้มีความสุข

Search This Blog

Monday, February 26, 2018

สวนพงษ์แตง เนินมะปราง พิษณุโลก Pongtang Homestay Pisanulok



31  ธันวาคม 2560  ดูอัลบัม

เมื่อออกจากขนิษฐา โฮมสเตย์  เรายังไม่ไปไหน มุ่งหน้าต่อไปอีกนิดเข้าสวนพงษ์แตง โฮมสเตย์ต่อ ที่นี่มีเต้นท์ และบ้านพักให้เช่าเหมือนกัน เราไม่ได้พักทั้งสองที่ มาแวะเที่ยว ชมวิว ดูสถานที่ ไม่เสียตังค์จ้า ป้าโอ้ทชอบนะ สถานที่ไม่ใหญ่มากนักถ้าเทียบกับสวน และ อุทยาน แต่มีความรู้สึกเหมือนไปบ้านเพื่อน บ้านคนรู้จัก เราไปกันตอนเช้า คนยังไม่เยอะ พ่อป้าโอ้ทถามเจ้าของสถานที่ ซึ่งป้าโอ้ทไม่รู้ว่าเป็นเจ้าของบ้าน หรือ พนักงานนะ ได้ความมาว่า ที่นี่ทั้งเต้นท์ และ บ้านจองกันเต็มหมดแล้ว ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ ถ้ามาดุ้ม ๆ ไม่มีที่นอนนะจ๊ะ แต่ถ้ามาใช้ที่กางเต้นท์คงได้ ฉนวนราคาป้าโอ้ทไม่ได้ถามพ่อ

ป้าโอ้ทดูวิดิโอของคนที่ไปพักในยูทูป ดูสนุกมาก ทางสถานที่จัดเตรียมอาหารไว้บริการมากมาย อร่อยด้วย ห้องน้ำสะอาด อากาศกลางคืนเย็นสบาย ถ้ามีโอกาสไปพักกันนะคะ

เราเดินเล่น ชมสวนกันสักพักก็พากันเดินทางมุ่งหน้ากลับกรุงเทพฯ

Dec 31, 2017 click to see album

After left Khanita Homestay , we went a bit further to Pongtang Homestay. Here also provided tents and houses for rent. We walked around and enjoy the view before headed back to Bangkok.

My dad talked with someone there asking about renting tents and houses. They all fully book before New Year. If you just walk in then you will not have a place to stay. I heard about booking on the phone available but I do not know if available on the website or if there was a website of this place.

I looked at other people's video who visited this place and stay overnight. It was very fun, plenty tasty food provided and also camping activities around the firepit.










Sunday, February 25, 2018

Ganitha Homestay Pisanulok กนิษฐา โฮมสเตย์ เนินมะปราง พิษณุโลก


31 ธันวาคม 2560

พ่อป้าโอ้ทตั้งใจพาเราพักที่นี่เมื่อคืน แต่กว่าเราจะมาถึงบริเวณนี้มืดมาก พ่อไม่แน่ใจว่าเลี้ยวไหนแน่
ป้าโอ้ทบอกพ่อให้เข้าพักรีสอร์ทที่เจอที่แรกแทน เช้าวันรุ่งขึ้นพ่อขับเลยรีสอร์ทที่พักออกมาไม่ไกล
พ่อจำทางเลี้ยวได้ และ จอดถามแม่ค้าปากทางเพื่อความมั่นใจ และเราก็มาถึง

พ่อบอกป้าโอ้ทว่าที่นี่เป็นสถานที่กำลังนิยม ภาพโพสในเฟสบุ๊คเยอะ แต่ป้าโอ้ทไม่เคยเห็น ป้าโอ้ทชอบนะ วิวสวย ๆ นอนกลางคืนอากาศเย็นสบาย ที่นี่มีเต้นท์ และ บ้านพักไว้ต้อนร้บ แต่ต้องจองล่วงหน้านะจ๊ะ ถ้าดุ่มมาเลยไม่มีที่นอนเด้อ  ป้าโอ้ทรู้แต่โทรจอง แต่ในเวบไซด์มีไหมไม่แน่ใจ

มิสเตอร์ กะ พ่อเดินขึ้นไปดูวิวบนระเบียง ซึ่งมีป้ายบอกให้ขึ้นครั้งละไม่เกิน 7 คน นักท่องเที่ยวยืนต่อแถวรอกัน คนข้างบนขึ้นไปถ่ายรูปกันพอประมาณ แล้วต้องลงมาสลับให้คนอื่นบ้าง อยู่นานไม่ได้

เราอยู่กันราว 2 ชั่วโมง คนเริ่มทะยอยกันมาในจังหวะที่เรากำลังจะไปที่อื่นต่อ ดีนะที่เรามากันแต่เช้า คนยังไม่เยอะ  ป้าโอ้ทดีใจมากได้กินลูกชิ้นหมูปิ้ง น้ำจิ้มอร่อยที่ร้านของโฮมสเตย์ก่อนไป อยากกินลูกชิ้นปิ้งตั้งแต่มาถึงไทย แต่ยังไม่ได้กิน

ทางเข้าเป็นซอยตื้น มีต้นยางปลูกด้วย พ่อป้าโอ้ทบอกว่าละแวกนี้เคยปลูกยาง เป็นต้นไม้เศรษฐกิจ แต่พอเศรษฐกิจเริ่มตก ปลูกยางสร้างรายได้ไม่พอ ต้องหารายได้ทางอื่น คนที่มีที่ริมหน้าผา เป็นเนินสวย ๆ ก็เปิดเป็นโฮมสเตย์ ธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟู เพราะทุกคนต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ โดยเฉพาะคนเมือง วันหยุดก็หาทางไปหาธรรมชาติ 

ถ้าป้าโอ้ทมีตังค์เยอะ  ก็อยากจะหาซื้อที่ทำแบบนี้บ้าง แต่สมัยนี้ที่ดินแพงมหาศาล พ่อบอกว่า ที่ดินแถวนี้ราคาไร่ละ 20 บาทไม่มีใครซื้อ เพราะสมัยนั้นไม่มีใครคิดถึงสิบปีข้างหน้า นึกแต่ว่าป่าแบบนี้จะซื้อไปทำอะไร เมื่อวันนี้มาถึง ได้แต่กลืนน้ำลายเสียดายที่ไม่ซื้อ 

Dec 31, 2017

My dad planned to stay here last night but he did not sure which turn and also we were in the area late at night. We decided to stay at the resort we passed by first and came here in the next morning.

He told me that this place is popular as many people posted photos on Facebook but I had no idea about this because I have not seen any photos. I like the place.

There are tents and houses provided for guests but must reserve by phone. I am not sure if any website and available for online booking. If just walk in then no chances to get tents or houses.

There is an observation deck on the cliff which maximum 7 people capacity at the time. I did not get up there but my dad and Mister did. 

We spent time here about 2 hours and moved to the next homestay. There were many people coming during the time we were leaving.

On the street side, I saw rubber trees (see the photos below). My dad told that growing rubber trees were mainly business in the area but now changed.

I was really wanted to eat pork skewer since arrived Thailand but had not eaten yet. I was happy here as skewer pork was selling, mmmm! Yum!

















Saturday, February 24, 2018

ป่าในกรุง สุขาภิบาล 2 Forest Learning station Sukhaphiban 2 Bangkok



4  มกราคม 2561

ป้าโอ้ทได้ข้อมูล"ป่าในกรุง"จากหลาย ๆ เวบ ดูภาพ วิดิโอแล้วน่าสนใจ จดข้อมูลไว้ในแทบเลทเรียบร้อยเพื่อใช้อ้างอิง 

ในวันนี้ช่วงเช้าป้าโอ้ทไปวังสวนผักกาด และ จิมทอมสัน ช่วงบ่ายนั่งรถไฟฟ้าจากหน้าปากซอยจิมทอมสัน สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ไปลงสถานีพญาไท และต่อรถไฟสายสนามบินสุวรรณภูมิไปลงสถานีบ้านทับช้าง จากข้อมูลบอกไว้ให้ต่อเท๊กซี่ไปไม่ไกล  ป้าโอ้ทใช้รถไฟสายสนามบินเป็นครั้ง และไม่คุ้นกับสถานีแถวนั้น แต่มองไปรอบ ๆ คือถนนที่รถยนต์วิ่งประจำเมื่อตอนป้าโอ้ทอยู่กรุงเทพฯ เพราะป้าโอ้ทใช้เส้นทางไปพบลูกค้าประจำ เอาล่ะ มาต่อเรื่องการเดินทางดีกว่า...

เมื่อเดินลงจากสถานีรถไฟ และ หาทางเดินออกไปถนนใหญ่จนได้ ระหว่างนั้นมีแท๊กซี่เลี้ยวเข้าซอยมาหนึ่งคัน ป้าโอ้ทเล็งไว้ว่าแท๊กซี่ต้องออกมา เพราะถ้าไม่ออกมาเราคงรอกันอีกนานเพราะ จุดที่เราอยู่เป็นถนนเส้นในซึ่งรถแท๊กซี่ถ้าไม่มีผู้โดยสารคงไม่วิ่งมา

แท๊กซี่ออกมาตามคาด ป้าโอ้ทเรียกและบอกสถานที่ "ป่าในกรุง" แท๊กซี่ไม่รู้จักครับผม ถามป้าโอ้ทว่าหน้าตาสถานที่เป็นยังไง ป้าโอ้ทตอบไปตามจริง ไม่เคยไป ได้ข้อมูลมาจากเนต และป้าโอ้ทเองไม่มีเนตในมือถือ บอกให้น้องแท๊กซี่เสริจหา น้องแท๊กซี่ใจดีมาก ๆ เสริจหาให้ แบตมือถือน้องใกล้หมด ก็รีบเสียบชาร์จ และในที่สุดเราก็ไปถึง จุดปลายทางแท๊กซี่ขับเลยไปนิดนึง เพราะไม่เห็นสถานที่น่าจะเป็นป่า วนเข้าหมู่บ้านแล้วถามยาม เราเลยมานิดนึง

ป้าโอ้ทจ่ายค่าโดยสาร แล้วขอบคุณน้องแท๊กซี่ที่พามา เพราะไม่เช่นนั้นคงรอแท๊กซี่อีกนาน หรือไม่ก็ต้องหันหลังกลับ น้องแท๊กซี่บอกตอนแรกจะไม่มาเพราะไม่รู้จัก แต่เห็นชาวต่างชาติ ไม่อยากให้ยืนรอร้อน ยกผลดีให้มิสเตอร์ไป 

ป่าในกรุง เป็นศูนย์การศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระเทพฯ ไม่เสียค่าเข้า แค่ลงชื่อเข้าชมเท่านั้น เข้าไปด้านในมีห้องวิดิโอเปิดแนะนำสถานที่ก่อนสั้น ๆ จากนั้นจอภาพถูกเปิดออกเป็นบานประตูให้เดินเข้าด้านในผ่านช่องประตูได้เลย  มีสะพานให้เดินชมป่า ไปถึงหอมองวิว และลงมีทางเดินวนกลับมาด้านหน้า

เป็นสถานที่เล็ก ๆ สำหรับคนที่อยู่ละแวกนั้นป้าโอ้ทแนะนำให้แวะไปนะคะ แต่สำหรับคนอยู่ไกล ถ้าไม่ชอบต้นไม้ อาจจะบ่นเพราะสถานที่เล็ก และ ไม่มีอะไรน่าสนุก สำหรับป้าโอ้ททุกที่ สนุกในแบบของสถานที่ ป้าโอ้ทชอบถ่ายรูป อัดวิดิโอ ชอบธรรมชาติ จะเล็ก จะใหญ่ สนุกหมด

สถานที่อยู่ถนนสุขาภิบาล 2 ป้าโอ้ทไม่ได้ย้อนไปอีกด้าน ไม่รู้ว่าไปตัดกับถนนอะไร ในขณะที่เราออกมาหกโมงกว่าแล้ว ตัดสินใจกลับสถานีรถไฟเหมือนตอนมา พนักงาน รปภ ของป่าในกรุง เรียกแท๊กซี่ให้เรา เพราะกลัวมิสเตอร์จะร้อน ให้ไปยืนแอบพักร่มที่เพิงมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่อยู่ตรงนั้นพอดี

ป้าโอ้ทคิดว่าวันเสาร์ อาทิตย์คนน่าจะเยอะ เราไปกันวันปกติ และไปตอนใกล้เวลาปิดด้วย มีกลุ่มน้อง ๆ นักเรียนอยู่กลุ่มเดียวเท่านั้น 

อยู่ในกรุง มีต้นไม้ มีน้ำตก บ่อน้ำเล็ก ๆ ให้เห็น ก็รู้สึกสดชื่นแล้ว เห็นด้วยไหมคะ

Jan 4, 2018

I knew this place from the internet and the photos attractive me. I noted information, address, time and also how to get there. I chose the most convenient way which was BTS sky train. We took BTS sky train at National Stadium after visited Jim Thomson house, get off at Phayathai and took the Airport link sky train to Bantubchang station and took a taxi.

I did not recognize the area where we got off the Airport link at first but after awhile on the taxi, I remembered. When I was a sale person, I used this direction to the client companies all the time.

It was my first time traveled by Airport link, so I had no idea where we were, then we walked down to the street and found our way to the main street. It was an inside lane which not many chances to get a taxi because no taxi comes if no passenger hiring to the area. Eventually, there was a taxi turn in the street while we were walking. Yeah!, I was really sure that the taxi will come to us and YES!

I told the driver the destination we wanted to go but he did not know it. He asked me, what the place looked like but I had no idea and told him that I never been there. I also asked him to look on the internet. Finally, we got there by google maps from his cell phone.

The place did not easy to be noticed just the sign so we passed over and turn into the village where next to it. The taxi driver asked the village security for the place. It was next to the village just turn back a little.

No entrance fee, just sign in visiting book. This place is a forest learning center. We watched an introduction documentary before walked inside, walked on the bridge through the observation tower and walked in round follow the garden way to the exit.

It is good to have a small forest in town, trees and a water-fall (artificial) give fresh air and relax.



















Wednesday, February 21, 2018

หนึ่งวันกับช้างที่ศูนย์ช่วยเหลือช้างเชียงใหม่ A day with elephants at Elephant Nature Park Chiangmai




26 ธันวาคม 2556  ดูอัลบัม

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ป้าโอ้ทแนะนำเป็นอย่างยิ่ง หากไปไทยต้องไปที่นี่ เป็นประสบการณ์ที่ดีมากประสบการณ์หนึ่ง  

สำหรับคนไทย ถ้าพอจะมีปัจจัยจ่ายได้ ป้าโอ้ทแนะนำเหมือนกัน โดยเฉพาะใครที่รักธรรมชาติ ต้องชอบ ที่นี่นักท่องเที่ยวไทยป้าโอ้ทไม่เห็นสักคน ยกเว้นป้าโอ้ทนะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองกับกิจกรรมหนึ่งวันกับช้าง ป้าโอ้ทเคยไปมาแล้วเมื่อสิบปีก่อน แฟนคนอังกฤษพาไป ชอบมาก ครั้งนี้ป้าโอ้ทพามิสเตอร์ไปบ้าง มิสเตอร์ชอบมากเหมือนกัน

ป้าโอ้ทจองกิจกรรมทางเวบ ชำระเงินมัดจำ และได้รับหมายเลขยืนยันการจองทางอีเมล์ ส่ิงที่ทางเวบกำหนดคือที่พักของนักท่องเที่ยวที่ต้องการให้รถบริการรับ-ส่ง ที่โรงแรมต้องอยู่เขตรัศมี ซึ่งมีแจ้งในเวบ หากพักนอกบริเวณกำหนดต้องไปขึ้นรถที่สำนักงานเองตอน 7 โมงเช้า

ป้าโอ้ทจองโรงแรมในพื้นที่ แจ้งที่อยู่ และ รายละเอียดโรงแรมตอนจองทัวร์ และโทรยืนยันอีกครั้งตอนถึงเชียงใหม่เย็นวันก่อนวันนัด รถจะมารับที่โรงแรมระหว่าง 7:30 - 8:00 เช้า ใช้เวลาเดินทางราวสองชั่วโมง พักเข้าห้องน้ำ ดื่มกาแฟ กินขนมแป้บนึง

ระหว่างเดินทางไกด์เปิดวิดิโอสารคดี ความเป็นมาของศูนย์ช่วยเหลือช้าง ทำให้ป้าโอ้ทได้รู้ข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยรู้ ดูแล้วสลด เศร้า สงสาร ยกตัวอย่าง ช้างที่แสดงถูกมัด ทรมาน ให้ทำตามคำสั่ง ถ้าไม่ทำจะเจ็บตัว ถูกทำลายความเป็นธรรมชาติของสัตว์  และช้างที่วาดรูปได้ ไม่ใช่เพราะมีพรสวรรค์ แต่เพราะถูกจิกที่ใบหูบังคับให้ทำ และยังมีอีกหลายอย่าง ดูแล้วน้ำตาไหลเลย

ที่นี่ไม่ขี่ช้าง ไม่ใช้ตะขอบังคับช้าง ปล่อยให้ช้างเป็นอิสระเหมือนธรรมชาติของเขา 

มีอาสาสมัครเวียนเข้ามาไม่ขาด แม้ต้องเสียเงินเพื่อมาอาสาสมัครก็ตาม  

ป้าโอ้ทเห็นช้างขาหัก เท้าแหว่ง ตาบอดด้วย ช้างตัวใหญ่แต่โดนทำร้าย ช้างที่ได้รับการช่วยเหลือ เพิ่งมาอยู่ใหม่ เราจะเข้าใกล้มากไม่ได้ เพราะยังหวาดกลัว จะเป็นอันตรายต่อเราเพราะเขาอาจทำร้ายเนื่องจากไม่คุ้น คิดว่าเราจะทำร้ายเขา

ทางศูนย์ยังช่วยควาย หมู วัว และ หมาที่ถูกทอดทิ้งจากน้ำท่วมด้วย มีเยอะมาก รอคนมาอุปการะ

ป้าโอ้ทมั่นใจว่าทางศูนย์คงต้องการเงินเพื่อมาใช้จ่าย ช่วยเหลือช้าง และ สัตว์อื่น อีกมาก และเหตุผลนี้เงินที่เก็บมาเป็นค่าทัวร์ในมุมมองป้าโอ้ทแล้วไม่แพงมากมายอะไร เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ป้าโอ้ทไม่เห็นนักท่องเทียวไทยสักคน ไปเมื่อสิบปีก่อนก็ไม่มี คงเพราะไม่รู้ว่ามีสถานที่แบบนี้ หรือเพราะแพง หรือไม่ได้ประชาสัมพันธ์ในประเทศ ก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ ๆ ผู้ก่อตั้งเป็นผู้หญิงไทยตัวเล็ก ๆ 

ไกด์เล่าว่าหลายปีมาแล้ว ผู้ก่อตั้งเป็นไกด์ แล้วได้มีโอกาสคลุกคลีกับช้าง จนเห็นว่าเกิดอะไรขึ้น จึงได้เปลี่ยนตัวเอง หันมาช่วยเหลือ แต่รายละเอียดยังไงนี้ป้าโอ้ทไม่รู้ ที่แน่ ๆ รายการเนเชอรัลจีโอฯ มีสถานที่นี่ให้ดูบ่อย 

ดูวิดิโอป้าโอ้ทนะคะว่าในหนึ่งวันทำอะไรบ้าง

Dec 26, 2017  click to see album

"This is a must do when visiting Thailand. It was a great experience."

It was my second time spending time with elephants like this in Chiangmai but I do not remember if the same place. I was there 12 years ago.

I reserved a daycare for elephant online before we came to Thailand because their calendar was fully booked. We were lucky to get the day we wanted.  The requirement was the location of hotels where the company provided picking up, if not we must go to the office in Town by ourselves. Everything must confirm online before our trip such as partial payment, hotel address and we received a confirmation number.

The van picked up us at the hotel between 7:30 and 8 in the morning. It took about 2 hours to get there. Please look at the video to see what were we doing a whole day with elephants. 

They are huge but very kind and friendly.

Here is the Sanctuary, rescued elephants which hurt from people. I saw a couple of them have broken feet and blind.  In the Sanctuary does not ride the elephants and does not use hooks with them. They stay free as natural.

I learned new info from the documentary video showing in the van along our way. That was sad such as the elephant draws picture does not because of its talent but forcing to do by hurting. The elephants on the show had struggled time on training, and etc.

The cost is not low to be with them but when think about helping them to get better lives that worth to pay. Even though, voluntary people must pay to be there, a lot of people happy to pay and be with them, help them.

Not only elephants here but also buffaloes, cows, pigs and rescued dogs from flooded. I am sure, they need a lot of money for the association.







สัตวแพทย์ต่างชาติกำลังตรวจเท้าช้างที่ได้รับบาดเจ็บ
Veterinary was checking the elephant's injured foot













เมื่อเราไม่ท้อ ไม่ถอย ตั้งใจ และลงมือ อะไรก็สำเร็จได้สักวัน
แวะมาบ่อยๆ นะค่ะ ขอให้มีความสุข และ มีความรักรอบๆ ตัวทุกคนค่ะ
If we never give up and begin doing, we will succeed. I wish everyone happiness and love, stay around.

เรื่องราว ข้อมูล บทความ ที่เขียนทั้งหมด ที่พื้นที่แห่งนี้เป็นข้อมูลส่วนตัว ตั้งใจเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้อ่านย้อนหลังเพราะไม่ได้เขียนใส่สมุดตั้งแต่มาอเมริกาและเพื่อง่ายต่อทางบ้านที่ประเทศไทยได้เห็นชิวิตความเป็นอยู่ ทั้งเล่าสู่กันฟังถึงสิ่งที่ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส มิได้มีเจตนากระทบกระทั่งบุคคลใดขอขอบคุณเจ้าของบทความ งานเขียน และรวมถึงวิดีโอ ที่มีประโยชน์ได้นำมาอ้างอิงเผยแพร่ไว้ที่นี่ และยินดีต้อนรับทุกคนที่เข้ามาทั้งด้วยความตั้งใจและบ้งเอิญค่ะ

Stories and articles in this blog are my experiences .I would like to share in public. Welcome everyone!

Since I moved to the USA I have not written in a book, I use this space to keep the memories of everything I do and everyone I meet and this makes it simple to update my family in Thailand also.

Thank you to all the writers and people educated in the media who I copied to share this blog